เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ-
ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและ
วิมุตติอันยิ่ง พระโคดมผู้ทรงพระยศตรัสรู้แล้ว
พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสนา ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่ง
ด้วยประการดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม 4 ประการ
แก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว
ปรินิพพาน.

จบ สุริยสูตรที่ 2

อรรถกถาสุริยสูตรที่ 2


สุริยสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พึงทราบปุเรจาริกกถา ถ้อยคำที่กล่าวนำหน้า แห่งพระสูตร
นี้ ก่อนอื่น เริ่มต้นดังต่อไปนี้ว่า เพราะเหตุที่สัตตสุริยเทศนา
พระอาทิตย์ 7 ดวง เป็นไปด้วยอำนาจแสดงว่าโลกพินาศด้วย
ไฟกัลป์ ฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า สังวัฏฏกัปป์มี 3, สังวัฏฏสีมามี 3,
สังวัฏฏมูลมี 3, โกลหลมี 3. ปุเรจาริกกถานั้น ได้กล่าวไว้พิสดาร
แล้ว ในปุพเพนิวาสานุสสตินิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่า
เอตทโวจ ความว่า เพื่อจะทรงแสดงความวิบัติของสังขารทั้งหลาย

ทั้งที่มีใจครอง และไม่มีใจครอง ตามอัธยาศัยของภิกษุ 500 รูป
ผู้เจริญอนิจจกรรมฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัตตสุริโยปมสูตร
มีคำเป็นต้นว่า อนิจฺจา ภิกฺขเว สงฺขารา ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจา ความว่า สังขารทั้งหลาย
ชื่อว่า อนิจฺจา ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีแล้ว กลับไม่มี. บทว่า
สงฺขารา ได้แก่ สังขารธรรม ทั้งที่มีใจครองและไม่มีใจครอง
บทว่า อธุวา ความว่า ชื่อว่า ไม่ยั่งยืน เพราะอรรถว่าไม่นาน.
บทว่า อนสฺสาสิกา ความว่า เว้นจากความเบาใจ เพราะมีความ
เป็นของไม่ยั่งยืน. บทว่า อลเมว แปลว่า สมควรแล้ว. บทว่า
อชฺโฌคาฬฺโห ได้แก่ จงลงไปในน้ำ. บทว่า อจฺจุคฺคโต ได้แก่
โผล่ขึ้นแล้วจากหลังน้ำ. บทว่า เทโว น วสฺสติ ความว่า ชื่อว่า
เมฆฝนที่ทำน้ำให้ไหวเป็นอันแรก รวมกันเป็นเมฆฝนกลุ่มก้อนอัน
เดียวกันแล้ว ตกลงในแสนโกฏิจักรวาฬ. ในการนั้น พืชที่งอกออก
มาแล้ว ย่อมไม่กลับเข้าไปยังเรือนพืชอีก. ธรรมกถาที่คาดคะเน
ย่อมถือเป็นประมาณว่า นับตั้งแต่เวลาที่ฝนไม่ตกนั้น น้ำก็งวดลงไป
เหมือนน้ำในธัมมกรกฉะนั้น. ฝนไม่ตกอีกแม้เพียงหยาดเดียว.
ก็เมื่อโลกกำลังพินาศ ตั้งต้นแต่อเวจีมหานรกไป ก็มีแต่ความว่าง
เปล่า. สัตว์ทั้งหลายครั้นขึ้นจากอเวจีมหานรกนั้นแล้ว ก็บังเกิด
ในมนุษย์โลก และในสัตว์ดิรัจฉาน. แม้สัตว์ที่บังเกิดในสัตว์
ดิรัจฉานกลับได้เมตตาในบุตรและพี่น้อง ทำกาละแล้ว บังเกิด
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. เทวดาทั้งหลายเที่ยวไปทางอากาศ
ร้องบอกกันว่า ที่นี้เป็นที่เที่ยวหามิได้ ทั้งไม่ยั่งยืน พวกท่านจง

เจริญเมตตา เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา กันเถิด ดังนี้. สัตว์
เหล่านั้น ครั้นเจริญเมตตาเป็นต้นแล้ว จุติจากที่นั้นแล้ว ย่อมบังเกิด
ในพรหมโลก.
ในบทว่า พีชคามา มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ พืช 5 ชนิด ชื่อว่า
พืชคาม. พืชสีเขียว ที่มีรากและใบงอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า
ภูตคาม.
ในบทว่า โอสธติณวนปฺปตโย มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ต้นไม้
ที่เขาใช้ปรุงยารักษาโรค ชื่อว่า โอสธ. ต้นไม้ที่มีแก่นข้างนอก
เช่น ต้นตาล และต้นมะพร้าวเป็นต้น ชื่อว่า ติณะ ต้นไม้ที่เจริญ
ที่สุดในป่า ชื่อว่า วนัปปติ ต้นไม้เจ้าป่า. แม่น้ำน้อยที่เหลือ เว้น
แม่น้ำใหญ่ 5 สาย ชื่อว่า กุนนที แม่น้ำน้อย. สระเล็ก ๆ มีบึง
เป็นต้น ที่เหลือ เว้นสระใหญ่ 7 สระ ชื่อว่า กุสุพภะ บ่อน้ำ.
ในบทว่า ทุติโย สุริโย เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ในคราว
ทีมีพระอาทิตย์ดวงที่ 2 ดวงหนึ่งขึ้นไป ดวงหนึ่งตก. ในคราวที่มี
พระอาทิตย์ดวงที่ 3 ดวงหนึ่งขึ้น ดวงหนึ่งตก. ดวงหนึ่งยังอยู่กลาง
(ท้องฟ้า). ในราวที่มีพระอาทิตย์ดวงที่ 4 ย่อมตั้งขึ้นเรียงกัน
เป็นลำดับ เหมือนภิกษุ 4 รูป ผู้เที่ยวไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน
4 ครอบครัว ยืนอยู่ตามลำดับประตูบ้านฉะนั้น. แม้ที่พระอาทิตย์
ดวงที่ 5 เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ปลุชฺชนฺติ ได้แก่ ขาดตกลง. บทว่า เนว ฉาริกา
ปญฺญายติ น มสิ
ความว่า เมื่อที่มีประมาณเท่านี้คือ แผ่นดินใหญ่
ในจักรวาฬ ขุนเขาสิเนรุ ภูเขาหิมพานต์ ภูเขาจักรวาฬ กามา

พจรสวรรค์ 6 ชั้น และพรหมโลกชั้นปฐมฌานภูมิ ที่ถูกไฟไหม้
แล้ว ขี้เถ้าหรือถ่าน แม้เพียงจะหยิบเอาด้วยนิ้วมือ ก็ไม่ปรากฏ.
บทว่า โก มนฺตา โก สทฺธาตา ความว่าใครสามารถจะให้
บุคคลรู้ จะให้เขาเชื่อเรื่องนั้น หรือใครจะเป็นผู้เชื่อเรื่องนั้น. บทว่า
อญฺญตร ทิฏฺฐปเทหิ ความว่า เว้นพระอริยสาวก ผู้โสดาบัน ผู้มีบท
(คือพระนิพพาน) อันตนเห็นแล้วอธิบายว่า ใครเล่าจักเชื่อคนอื่นได้
บทว่า วีตราโค ความว่า ผู้ปราศจากราคะ ด้วยอำนาจวิกขัมภน-
ปหาน (ละได้ด้วยการข่ม) บทว่า สาสนํ อาชานึสุ ความว่า พระ-
สาวกทั้งหลาย รู้ถึงคำพร่ำสอน คือ ดำเนินตามทาง เพื่อความเป็น
สหายชาวพรหมโลก. บทว่า สมสมคติโย ความว่า ผู้มีคติเสมอกัน
คือมีคติเป็นอันเดียวกัน โดยอาการเป็นอันเดียวกัน ในอัตภาพที่ 2
บทว่า อุตฺตริ เมตฺตํ ภเวยฺยํ ความว่า เราพึงเจริญเมตตาให้ยิ่ง ๆ
ขึ้นไป คือทำใหัประณีต เริ่มต้นแต่ปฐมฌานไปจนถึงฌานหมวด 3
และฌานหมวด 4.
บทว่า จกฺขุมา ความว่า พระศาสดา ทรงมีพระจักษุ 5
ชื่อว่า จักขุมา. บทว่า ปรินิพฺพุโต ความว่า เสด็จปรินิพพาน ด้วย
กิเลสปรินิพพาน ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง. ครั้นพระศาสดาทรงแสดง
อนิจจลักษณะแล้ว ทรงยักเยื้องพระธรรมเทศนาไปอย่างนี้ ภิกษุ
ผู้เจริญอนิจจกรรมฐานทั้ง 50 นั้น ส่งญาณไปตามกระแสเทศนา
บรรลุพระอรหัตแล้ว บนอาสนะที่ตนนั่งนั่นแหละ ดังนี้.
จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ 2

3. นครสูตร


[64] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของ
พระราชา ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน 7 ประการ และหาอาหาร
4 ประการ ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ใน
กาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอันตราย
ปัจจันตนครของพระราชานั้นไม่ได้ เครื่องป้องกัน 7 ประการ
เป็นไฉน คือในปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระเนียดขุดหลุม
ฝังลึก ไม่หวั่นไหว นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ 1 สำหรับ
คุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีคูขุดลึกและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกัน
นครประการที่ 2 สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันนครประการ
ที่ 2 สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้างนี้
เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ 3 สำหรับคุ้มภัยภายในและ
ป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาจ
แหลมยาวและอาวุธคม นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ 4
สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง ตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า
พลรถ พลธนู กองถือธง กองจัดกระบวนทัพ กองสัมภาระ กอง